รังสีรักษาสำหรับมะเร็งปอด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดผลข้างเคียง
January 24 / 2025

 

รังสีรักษา มะเร็งปอด

 

 

     มะเร็งปอดเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากในระยะแรกก้อนมะเร็งปอดมักไม่มีอาการแสดง ทำให้การตรวจพบมะเร็งปอดในระยะแรกเป็นเรื่องยาก

 

การฉายรังสีมะเร็งปอด

     การรักษามะเร็งปอดมีความซับซ้อน เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะสำคัญที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาและอยู่ใกล้กับอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เช่น หัวใจและเส้นเลือดใหญ่ การผ่าตัดจึงต้องใช้ความระมัดระวังสูง นอกจากนี้ มะเร็งปอดยังมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ง่าย การรักษาจึงต้องใช้วิธีการที่หลากหลายและผสมผสานกัน ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการใช้ยา เช่น เคมีบำบัด ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือยามุ่งเป้า เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการรักษา

 

การฉายรังสีมะเร็งปอดแตกต่างกับการฉายรังสีที่ตำแหน่งอื่นอย่างไร?

     ก่อนที่จะกล่าวถึงความแตกต่างของการฉายรังสีมะเร็งปอดกับการฉายรังสีที่ตำแหน่งอื่นนั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจขั้นตอนสำคัญของกระบวนการฉายรังสีก่อน ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

 

 

ขั้นตอนการฉายรังสี

     ในวันที่มีการจำลองการฉายรังสีและวันที่มีการฉายรังสี ผู้ป่วยจะต้องนอนนิ่งบนเตียงร่วมกับอุปกรณ์ยึดตรึง เพื่อให้แน่ใจว่าลำรังสีที่ฉายไปยังผู้ป่วยอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับที่แพทย์วางแผนไว้ 


 


สำหรับการฉายรังสีบริเวณต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยและก้อนมะเร็งจะไม่มีการเคลื่อนไหวระหว่างการจำลองการรักษาและการฉายรังสี ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในสมอง เนื้องอกศีรษะและลำคอ เนื้องอกต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

 

 

ข้อจำกัดเรื่องการฉายรังสีมะเร็งปอด

     อย่างไรก็ตาม เนื้องอกหรือก้อนมะเร็งที่ปอดก็ยังเป็นเนื้องอกที่มีการเคลื่อนไหวตามการหายใจตลอดเวลา ทำให้การฉายรังสีมีความยากลำบากกว่าตำแหน่งอื่น เนื่องจาก

 

1.  การฉายรังสีอาจไม่ครอบคลุมการเคลื่อนที่ของก้อนมะเร็งขณะหายใจ

     หากกำหนดขอบเขตลำรังสีขนาดใกล้เคียงกับตัวก้อนมะเร็ง ก็อาจฉายรังสีไม่ครอบคลุมการเคลื่อนที่ของก้อนมะเร็งในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจ ซึ่งทิศทางการเคลื่อนไหวจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่ง ขนาด และการยึดติดกับอวัยวะใกล้เคียง ทำให้การเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทำให้ตัวก้อนมะเร็งไม่ตายจากการฉายรังสี ดังภาพที่ 1
 

 

 

รังสีรักษา มะเร็งปอด

 

ภาพที่ 1 แสดงการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งปอดและขอบเขตของการฉายรังสี หากขอบเขตการฉายรังสีแคบเกินไป อาจไม่ครอบคลุมการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็ง

 

 

2.  การฉายรังสีที่เน้นขยายขนาดลำรังสีให้ใหญ่กว่าตัวก้อนมะเร็ง

     หากกำหนดขอบเขตลำรังสีขนาดใหญ่กว่าตัวก้อนมะเร็งเพื่อให้ครอบคลุมการเคลื่อนไหวขณะผู้ป่วยหายใจ เนื่องจากไม่ทราบทิศทางการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็ง ซึ่งส่งผลให้อวัยวะข้างเคียงได้รับรังสีเพิ่มขึ้น ดังภาพที่ 2

 

 

 

รังสีรักษา มะเร็งปอด

 

ภาพที่ 2 แสดงการขยายขอบเขตบริเวณฉายรังสีเพื่อครอบคลุมการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งปอด เนื่องจากไม่ทราบทิศทางการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็ง 

 

 

เทคโนโลยี SGRT

     จากข้อจำกัดดังกล่าว ระบบตรวจจับการหายใจของผู้ป่วยระหว่างการฉายรังสี (Surface Guided Radiotherapy หรือ SGRT) จึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถวางแผนการฉายรังสีให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งปอดในแต่ละรายได้อย่างแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย ดังภาพที่ 3 และ ภาพที่ 4

 

 

รังสีรักษา มะเร็งปอด

ภาพที่ 3 แสดงขอบเขตการฉายรังสี ที่อาจจะเล็กเกินไปจนไม่ครอบคลุมการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็ง (ภาพบน) หรือใหญ่เกินไปทำให้อวัยวะโดยรอบมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงมากขึ้น (ภาพล่าง)

 

 

รังสีรักษา มะเร็งปอด

ภาพที่ 4 แสดงขอบเขตการฉายรังสี ที่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็ง โดยอาศัยเครื่อง SGRT ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งปอดตามการหายใจของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา

 

 

การรักษามะเร็งปอด

     มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่มักไม่แสดงอาการในระยะแรกและการรักษามีความซับซ้อน ดังนั้นในการรักษามะเร็งปอดร่วมกับการฉายรังสีโดยการใช้เทคนิคฉายรังสีระบบตรวจจับการหายใจของผู้ป่วยระหว่างการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รังสีเท่าที่จำเป็น ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

 

ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลรามคำแหง 2

     ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลรามคำแหง 2 เทคโนโลยี 4 มิติร่วมทีมบุคลากรทางการแพทย์ชำนาญเฉพาะทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาพร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ประสิทธิภาพสูง เพื่อมอบโอกาสให้คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยคุณคลี่คลายปัญหาให้ทุเลาและเบาลง

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 
ศูนย์รังสีรักษา - โรงพยาบาลรามคำแหง 2 เทคโนโลยี 4 มิติ
Email: information@ram2-hosp.com
Line Official: @ram2
โทร: 02-032-3888

 

 


บทความโดย

 

นพ.ณัฏฐกร ธนมิตรสมบูรณ์
นพ.ณัฏฐกร ธนมิตรสมบูรณ์

แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
โรงพยาบาลรามคำแหง 2

 

นัดพบแพทย์ นัดหมายแพทย์ Book Appiontment
 

 


 

แพ็กเกจที่แนะนำ