การฟอกเลือดด้วยไตเทียม (Hemodialysis) รู้รักษาโรคไตได้ทรงประสิทธิภาพ
December 16 / 2024

ฟอกเลือด ไตเทียม

 

 

     กว่า 17.5% ของผู้ป่วยเป็นโรคไตซึ่งหากคิดเป็นจำนวนประชากรจะตกราว 9.7 ล้านคน ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุจากเบาหวานและความดัน และเมื่อสำรวจลงลึกจะพบว่ามีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั่วประเทศอย่างน้อย 1.1 แสนคน การฟอกเลือดด้วยไตเทียมจึงเป็นทางเลือกรักษาที่ได้รับความนิยม เข้าใจ ประโยชน์ของการรักษาชนิดนี้พร้อมมอบอีกการรักษาทางเลือกให้ชีวิตของคุณสบายกว่า

 

โรคไตวายเรื้อรัง 

     โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) เกิดจากภาวะไตสูญเสียการทำงานทีละน้อย เมื่อโรคไตเข้าสู่ระยะสุดท้าย เกลือแร่และของเสียที่สะสมในร่างกายจะสูงขึ้นในระดับที่เป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต 

 

 

ฟอกเลือด ไตเทียม


 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • โรคภูมิแพ้ตนเอง
  • สูบบุหรี่
  • พันธุกรรม
  • รับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหรือใช้สมุนไพร

 

 

 

ฟอกเลือด ไตเทียม

 

 

อาการของโรคไตวายเรื้อรัง

เมื่อป่วยในระยะแรกจะยังไม่แสดงสัญญาณเตือนใดจนกระทั่งเข้าสู่ระยะรุนแรง จึงแสดงออกผ่านอาการ

 

  • ปัสสาวะมีเลือดปนหรือเป็นเลือด
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปรกติ
  • หน้าและเท้าบวม
  • อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
  • ผิวหนังซีด มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน

 

การฟอกไต

     การฟอกไต จัดเป็นการบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy) เพื่อกรองของเสียเกลือแร่และน้ำส่วนเกินในเลือดทดแทนไตเดิมที่เสื่อมสภาพ ซึ่งแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่

 

  • การฟอกเลือดด้วยไตเทียม (Hemodialysis treatment) เป็นการรักษาด้วยการดึงเลือดออกจากร่างกายผ่านหลอดเลือดและส่งต่อให้เครื่องไตเทียมกรองของเสีย เกลือแร่ และน้ำส่วนเกินก่อนกลับเข้าสู่ร่างกาย โดยทั่วไปทำครั้งละ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
  • การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) เป็นการใส่น้ำยาล้างไตในช่องท้องโดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาที่น้ำยาล้างไตและน้ำยาออกเมื่อครบกำหนดเวลา


การทำงานของเครื่องไตเทียม

     การทำงานของเครื่องไตเทียม เป็นการขจัดน้ำและของเสียออกจากเลือด โดยแพทย์จะเตรียมการผ่าตัดหลอดเลือดเพื่อใช้สำหรับฟอกเลือด จากนั้นจึงใช้สายนำเลือดออกจากตัวผู้ป่วยผ่านหลอดเลือดดำเพื่อเข้าสู่เครื่องไตเทียม
 

 

ฟอกเลือด ไตเทียม

 


การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีระดับการกรองไต eGFR ≤ 6 ml/min/1.73 m.
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา เช่น ภาวะน้ำเกิน น้ำท่วมปอด ภาวะเลือดเป็นกรด หรือเกลือแร่ผิดปกติรุนแรง
  • ผู้ป่วยไตเรื้อรังตามข้างต้นที่ไม่เหมาะสมกับการสวนล้างไตทางช่องท้อง เช่น เคยได้รับการผ่าตัดช่องท้อง มีภาวะไส้เลื่อน ภาวะโรคอ้วน

 

 

ฟอกเลือด ไตเทียม

 

 


คำแนะนำหลังการฟอกเลือด

  • เว้นการใช้งานแขนข้างที่ผ่าตัด
  • หลีกเลี่ยงการนอนทับหรืองอแขนบริเวณที่ได้รับการผ่าตัด
  • ไม่ใส่เครื่องประดับที่กดทับเส้นเลือดข้างที่ผ่าตัด เช่น นาฬิกา สายรัดข้อมือ
  • งดรับประทานอาหารและผลไม้ที่มีน้ำตาล ไขมันสูง 
  • พบแพทย์ตามตารางเวลานัดทุกครั้ง

 

 


ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตยังเป็นอีกหนึ่งการรักษาทางเลือกที่ให้ผลดีในระยะยาว กล่าวคือ เป็นการผ่าตัดนำไตที่มีสภาพดีจากผู้ให้บริจาค โดยผู้รับไตต้องรับประทานยาภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะปฏิเสธไตที่ปลูกถ่าย


 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 แผนกไตเทียม ชั้น 5 โรงพยาบาลรามคำแหง 2
Email:
information@ram2-hosp.com
Line Official: @ram2
โทร: 02-032-3888 ต่อ 10510, 10511

 

 


บทความโดย

 

พญ.ศรัณยา สัจจวรกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคไต
พญ. ศรัณยา สัจจวรกุล

แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคไต
โรงพยาบาลรามคำแหง 2

 

นัดพบแพทย์ นัดหมายแพทย์ Book Appiontment
 

 

 


แพ็กเกจที่แนะนำ