รังสีรักษาด้วยเทคโนโลยีการรักษาโดยเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น (Linear Accelerator)
December 11 / 2024

เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น

 

 

 

     ปัจจุบันแพทย์ได้พัฒนาเทคนิคการรักษาโดยคำนึงถึงภาวะของโรค ขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้องอก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากที่สุด หนึ่งในนั้นคือเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้นซึ่งช่วยให้รักษาก้อนเนื้องอกได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น (Linear Accelerator) 

     เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น (Linear Accelerator : LINAC) เครื่องฉายรังสีจากการเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนสามารถให้การรักษาได้ครอบคลุมทั้งการรักษาแบบ 3 มิติ (3DCRT) การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity Modulated Radiation Therapy : IMRT) และการฉายรังสีแบบปรับความเข้มพร้อมหัวเครื่องที่หมุนรอบตัวผู้ป่วย (Volumetric Modulated Radiotherapy : VMAT) 

 

 

เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น (Linear Accelerator)

เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น (Linear Accelerator)

 


ข้อดีของเครื่องฉายรังสี LINAC

  • ความแม่นยำสูง (High Precision) มีเทคโนโลยีเพิ่มความแม่นยำในการฉายรังสีด้วยระบบ Image Guided Radiotherapy (IGRT) ใช้ตรวจสอบตำแหน่งก่อนการฉายรังสี และ การฉายรังสีเทคนิค Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT) ช่วยลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะปกติข้างเคียง
  • ความเร็วในการฉายรังสี (Faster Treatment) ด้วยเทคโนโลยี Dynamic Agility™ MLC ของเครื่อง Elekta ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของการฉายรังสีได้อย่างรวดเร็ว เมื่อใช้ร่วมกับเทคนิคการฉายรังสี VMAT ทำให้ระยะเวลาในการฉายแต่ละครั้งลดลง
  • ความสามารถในการรักษาหลายรูปแบบ (Versatility) รองรับเทคนิคการฉายรังสีหลากหลาย เช่น IMRT (Intensity-Modulated Radiotherapy), SRT (Stereotactic Radiotherapy), และ SBRT (Stereotactic Body Radiotherapy) เพื่อให้เหมาะสมกับโรคและตำแหน่งของผู้ป่วย
  • ความปลอดภัยในการใช้งาน (Enhanced Safety) ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติและระบบตรวจสอบความถูกต้องของการตั้งค่าก่อนเริ่มฉายรังสี ลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด

 

กลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยเครื่องฉายรังสี LINAC

  • กลุ่มผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษาด้วยเครื่องฉายรังสี LINACผู้ป่วยโรคมะเร็งเกือบทุกประเภท โดยเครื่องฉายรังสี LINAC สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ครอบคลุมทุกระยะ ขึ้นกับประเภทของมะเร็ง รวมถึงการรักษาเพื่อบรรเทาอาการอันเกิดจากตัวก้อนมะเร็งได้
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มะเร็งที่ต้องการความแม่นยำสูง ก้อนมะเร็งอยู่ใกล้อวัยวะสำคัญ เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งปอด
  • กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยเทคนิคพิเศษ เช่น VMAT, SBRT, SRT สำหรับก้อนมะเร็งขนาดเล็กที่ต้องการปริมาณรังสีสูงในบริเวณจำกัด
  • เนื้องอกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง

 

 


ศูนย์รังสีรักษา - โรงพยาบาลรามคำแหง 2 เทคโนโลยี 4 มิติ เราให้การดูแลผู้ป่วยด้วยทีมแพทย์อายุรกรรมโรคมะเร็ง แพทย์เฉพาะทางรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา พยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง นักฟิสิกส์การแพทย์ และนักรังสีการแพทย์ที่มีประสบการณ์ ด้วยเทคโนโลยีฉายแสงที่ครอบคลุมและแม่นยำแบบ 3D, IMRT, VMAT และ Stereotactic radiotherapy พร้อมทั้งดูแลติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง


 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 
ศูนย์รังสีรักษา - โรงพยาบาลรามคำแหง 2 เทคโนโลยี 4 มิติ
Email: information@ram2-hosp.com
Line Official: @ram2
โทร: 02-032-3888

 

 


บทความโดย

 

นพ.ณัฏฐกร ธนมิตรสมบูรณ์
นพ.ณัฏฐกร ธนมิตรสมบูรณ์

แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
โรงพยาบาลรามคำแหง 2

 

นัดพบแพทย์ นัดหมายแพทย์ Book Appiontment