มะเร็งเต้านม หนึ่งในโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง
November 01 / 2024

ตรวจมะเร็งเต้านม

 

 

 

          มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก แม้ว่าผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่พบได้ในผู้หญิงมากกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ มะเร็งชนิดนี้มีสาเหตุจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในเต้านม ที่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง


          ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควมคุมไม่ได้ ได้แก่:

 

  • พันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งเต้านม โอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมจะสูงขึ้น และหากมีความผิดปกติของยีน BRCA1 และ BRCA2 จะมีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้สูงถึง 40-65%
  • อายุ อายุที่มากขึ้นก็เป็นปัจจัยสำคัญ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนเสริมในช่วงวัยหมดประจำเดือนอาจเพิ่มความเสี่ยง
  • การใช้ชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ ภาวะอ้วน การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม

 

 

 

 

อาการของมะเร็งเต้านม


          อาการที่สังเกตได้บ่อยของมะเร็งเต้านม ได้แก่:

 

  • มีก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้
  • เปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือขนาดของเต้านม
  • ผิวหนังที่เต้านมเปลี่ยนแปลง เช่น หนาเป็นเปลือกส้ม
  • หัวนมบุ๋ม หรือมีสารคัดหลั่งออกจากหัวนม
  • แผล เต้านมอักเสบเรื้อรัง

 

 

อาการของระยะของมะเร็งเต้านม


          การแบ่งระยะของมะเร็งเต้านมช่วยให้แพทย์ประเมินขนาดของก้อนมะเร็ง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไปจะแบ่งอาการเป็น 5 ระยะ ได้แก่ 

 

 

  • ระยะที่ 0 มะเร็งอยู่ในชั้นผิวของท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนมเท่านั้น
  • ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก หรือมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 3 ต่อม
  • ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
  • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหลายๆ กลุ่ม หรือมีการรุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
  • ระยะที่ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก 

 

 

การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม


          การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมสามารถทำได้หลายวิธี เช่น:

 

  • การตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ หากมีอาการแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย 
  • แมมโมแกรม (Mammogram) เป็นวิธีการตรวจที่ใช้ภาพเอกซเรย์เพื่อตรวจหาก้อนหรือหินปูนผิดปกติในเต้านม โดยแนะนำให้ตรวจเป็นประจำสำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ใช้คลื่นเสียงเพื่อช่วยวินิจฉัยความผิดปกติในเต้านม
  • การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) เมื่อตรวจพบก้อนเนื้อ แพทย์อาจนำชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
  • หากผู้ป่วยไม่มีอาการแนะนำตรวจคัดกรองตามปกติ

 

 

วิธีการรักษามะเร็งเต้านม


          การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดของมะเร็ง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยแต่ละรายอาจรักษาไม่เหมือนกัน โดยวิธีการรักษาหลัก ได้แก่:

 

  • การผ่าตัด (Surgery): มีทั้งการตัดก้อนเนื้อออกแบบสงวนเต้า (Lumpectomy), การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมด (Mastectomy) และการตัดเต้านมออกทั้งหมดร่วมกับเสริมสร้างเต้านมใหม่
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy): ใช้ยาเคมีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยอาจใช้ก่อนหรือหลังการผ่าตัด
  • การฉายแสง (Radiation Therapy): ใช้รังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัดเพื่อลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ หรือเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยประคับประคอง
    รพ.รามคำแหง 2 มีศูนย์รังสีรักษา (LINAC CENTER) โดยแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการ เพื่อวางแผนการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีรักษาและการฉายแเสงรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ด้วยเทคโนโลยีฉายแสงที่ครอบคลุมและแม่นยำแบบ 3D, IMRT, VMAT พร้อมทั้งดูแลติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  • การบำบัดฮอร์โมน (Hormonal Therapy): สำหรับมะเร็งที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน การใช้ยาเพื่อยับยั้งการผลิตฮอร์โมนสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำได้
  • ยาพุ่งเป้า: เป็นยาที่ใช้จำเพาะต่อมะเร็งเต้านมบางชนิด เพื่อเพิ่มโอกาสการหายและลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ

 

 

ตรวจมะเร็งเต้านม

 

 

การป้องกันมะเร็งเต้านม


          แม้จะไม่สามารถป้องกันมะเร็งเต้านมได้ แต่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจะสามารถลดความเสี่ยงได้ เช่น:

 

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อตรวจหาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และเพิ่มโอกาสการรักษาหาย

 

 

          รพ.รามคำแหง 2 เรามีทีมแพทย์พร้อมดูแลตั้งแต่เริ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยแพทย์เต้านมและมะเร็งเต้านม ไปจนถึงการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับทีมแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง และด้านรังสีรักษาด้วยการฉายแสง เป็นการดูแลผู้ป่วยโรค มะเร็งแบบครอบคลุมและครบองค์รวม

 

 


 

          มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงเตือนในระยะแรก จึงจำเป็นต้องได้รับความใส่ใจและการดูแลเป็นพิเศษ การตรวจพบในระยะแรกและการรักษาที่ทันเวลาแต่เนิ่นๆ จะสามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ เพราะเฉพาะนั้นคุณผู้หญิงควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี

 


 

 

อ่านเพิ่มเติม: โรงพยาบาลรามคำแหง 2 เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ VCC - Vibharam Cancer Conference 2024 ในหัวข้อ "มะเร็งเต้านม" ประจำปี 2567

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 แผนกศัลยกรรม ชั้น 1 โรงพยาบาลรามคำแหง 2
Email:
information@ram2-hosp.com
Line Official: @ram2
โทร: 02-032-3888, 095-771-9739

 


แนะนำแพทย์แผนกศัลยกรรม

 

 


แพ็กเกจที่แนะนำ