HPV ภัยเงียบสำหรับผู้ชาย
September 25 / 2024

เชื้อไว้รัส HPV ใครว่าเกิดได้ในเฉพาะผู้หญิง ในผู้ชายก็สามารถทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน

 

 

HPV ภัยเงียบสำหรับผู้ชาย มะเร็งปากมดลูก

 

 

          เชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ใครว่าเป็นโรคที่เกิดในผู้หญิงอย่างเดียว เชื้อไวรัส HPV ถือว่าเป็นภัยเงียบสำหรับผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV แบ่งเป็นสายพันธุ์ตามความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำ ในผู้ชายเองก็สามารถทำให้เกิดโรคได้

 

โรคที่จะสามารถจากเชื้อไวรัส HPV ในผู้ชาย

 

          1. มะเร็งองคชาติ
          2. มะเร็งในช่องปากและลำคอ
          3. มะเร็งทวารหนัก
          4. หูดหงอนไก่

 

          90% ของผู้ชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ก็อาจจะได้รับเชื้อไวรัส HPV มาได้ แต่คุณผู้ชายไม่ต้องกังวลเพราะเชื้อไวรัสบ้างส่วนอาจจะหายได้เอง แต่อาจจะส่งต่อเชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นได้เช่น คู่นอน แฟน หรือ ภรรยา ในอนาคตได้

 

 

การติดต่อเชื้อไวรัส HPV 

 

          สามารถส่งต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อไวรัส HPV ไม่ว่าจะเป็น ความสัมพันธ์แบบ เพศชายไปสู่เพศหญิง, เพศหญิงไปสู่เพศชาย, ชายรักชาย, หญิงรักหญิง หรือ ในคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ส่วนใหญ่ผ่านจากการมีเพศสัมพันธ์ ผ่านจากการสัมผัส ผ่านจากของใช้ส่วนตัวร่วมกัน  

          ซึ่งเชื้อไวรัส HPV สามารถอยู่ในร่างกายได้เกือบ 10 ปี โดยที่ไม่มีอาการ เพราะฉะนั้นการที่ไม่มีอาการไม่ได้หมายความว่าไม่เชื้อ ถ้าหากเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน อาจจะมีความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสหรือเชื้ออาจจะแอบแฝงในร่างกายได้และสามารถส่งต่อไปยังผู้อื่นได้

 

 

การป้องกันเชื้อไวรัส HPV ในผู้ชาย

 

          1. NO SEX หรือ การไม่มีเพศสัมพันธ์ อาจจะควบคุมได้ยาก
          2.
การใช้ถุงยางอนามัย ในขณะมีเพศสัมพันธ์ ถึงแม้อาจจะป้องกันได้ไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV และโรคติดต่อในเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้
          3.
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ผู้ชายก็สามารถฉีดได้ ปัจจุบันสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไป มีทั้งแบบ ชนิด 4 สายพันธุ์ และ ชนิด 9 สายพันธุ์ แนะนำว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์ จำนวน 3 เข็ม จะสามารถป้องกันครอบคลุม เช่น เชื้อไวรัส HPV, มะเร็งในช่องปากและลำคอ, มะเร็งองคชาติ, มะเร็งทวารหนัก, หูดหงอนไก่ เป็นต้น

 

 

วิธีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

 


วัคซีนมะเร็งปากมดลูก
 

จำนวนเข็ม
 

เข็มที่ 1
 

เข็มที่ 2
 

เข็มที่ 3
 
- ผู้ที่อายุต่ำกว่า 14 ปี
  ชนิด 4 สายพันธุ์ และ ชนิด 9 สายพันธุ์
2 เข็ม รับได้ทันที ห่างจากเข็มแรก
6 เดือน
-
- ผู้ที่อายุ 15 ปี ขึ้นไป
  ชนิด 4 สายพันธุ์ และ ชนิด 9 สายพันธุ์
3 เข็ม รับได้ทันที ห่างจากเข็มแรก
2 เดือน
ห่างจากเข็มสอง
4 เดือน

 

          การได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ก่อนได้รับเชื้อไวรัส HPV และครบจำนวน จะทำให้ป้องเชื้อ HPV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ได้ตั้งอายุ 9 ปีขึ้นไป - อายุ 45 ปี

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 1 โรงพยาบาลรามคำแหง 2
Email:
information@ram2-hosp.com
Line Official: @ram2
โทร: 02-032-3888

 


แนะนำแพทย์แผนกสูตินรีเวช

 

 


แพ็กเกจที่แนะนำ