ตรวจมะเร็งตับ รู้สัญญาณเตือนของร่างกายก่อนเข้ารับรักษาทัน
September 20 / 2024

เพราะมะเร็งตับ เป็นโรคที่มักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรก เมื่อรู้ตัวโรคได้ลุกลามไปมากแล้ว

 

 

ตรวจมะเร็งตับ รู้สัญญาณเตือนของร่างกายก่อนเข้ารับรักษาทัน มะเร็งตับ

 

 

ตรวจมะเร็งตับ รู้สัญญาณเตือนของร่างกายก่อนเข้ารับรักษาทัน

          ‘มะเร็งตับ’ เป็นภัยร้ายมะเร็งอันดับต้นของโลกที่น่าห่วงในหลายปี พบมากในผู้ชาย (เป็นโรคมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 1 ในผู้ชายไทย) และมักเกิดในผู้ที่เป็นโรคตับแข็งจากสาเหตุต่างๆ เช่น ดื่มสุรา ไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี ไขมันพอกตับ ในระยะแรกจะยังไม่มีอาการแสดงทำให้การวินิจฉัยทำได้ช้า และที่สำคัญ.. มาอย่างเงียบเฉียบเสมือนไร้สัญญาณ การตรวจคัดกรองมะเร็งตับจึงช่วยให้เรารู้สัญญาณเตือนของร่างกายก่อนเข้ารับการรักษาได้ทันกาล

 

‘มะเร็งตับ’ ภัยเงียบที่รู้ตัวอีกรอบก็ลุกลาม

          แม้มะเร็งตับเป็นโรคที่ไม่แสดงตัวให้เห็นชัดเมื่อแรกเริ่ม แต่กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็เกิดก้อนเนื้อที่นับวันขยายใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถรักษาสมดุลได้

 

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ

  • ตรวจหาเชื้อไวรัสบี (Hbs Ag) เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อใช้ตรวจเชื้อเปลือกของไวรัส ก่อนตรวจลึกถึงระดับเอมไซม์ของตับ (AST/ALT)
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ ทั้งจากชนิดบี (Anti-HBs) เนื่องจากหากผู้ป่วยมีไวรัสตับอักเสบก็มีโอกาสสูงที่โรคอาจพัฒนาการตัวเองกลายเป็นมะเร็งตับ แพทย์อาจแนะนำการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเพื่อสร้างเกราะคุ้มกันโรคร่วมด้วย
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสตับซี (Anti HCV)

 

ตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยวิธีการใดบ้าง

    โดยทั่วไปสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งตับได้หลายวิธี

  • ตรวจเลือด เพื่อใช้หาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP (Alpha fetoprotein) โปรตีนชนิดหนึ่งที่ใช้บ่งชี้การเกิดเนื้องอก ซึ่งหากค่าสูงก็มีโอกาสสูงเป็นมะเร็งตับ อย่างไรก็ตาม ค่า AFP ที่เพิ่มขึ้นอาจมีผลมาจากภาวะอื่น เช่น สภาวะตั้งครรภ์ ตับอักเสบ จึงต้องใช้การตรวจอื่นประกอบวินิจฉัยร่วม
  • GAAD Score ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับชนิดใหม่เรียกว่า PIVKA-II (Protein induced by vitamin K absence or antagonist-II) ที่สามารถวินิจฉัยมะเร็งตับในระยะแรกได้ดีกว่า AFP และการตรวจ PIVKA-II พร้อมกับ AFP โดยจะนำเพศ, อายุ, ค่า PIVKA-II และ AFP มาคำนวณค่า GAAD Score ซึ่งจะช่วยในการคัดกรองมะเร็งตับที่ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้นเพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงเกิดมะเร็งระยะเริ่มได้แม่นยำและทรงประสิทธิภาพ
  • อัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound upper abdomen) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงส่งตรงบริเวณที่ต้องการตรวจหาภาพความผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้อในตับ
  • การตรวจ CT Scan  เป็นการปล่อยเอกซ์เรย์เพื่อฉายสภาพตับในรูปแบบ 3 มิติ โดยแพทย์อาจฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกายเพื่อให้เห็นร่องรอยโรคได้ชัดเจนขึ้น
  • ตรวจแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นการใช้สนามแม่เหล็กพลังงานสูงสำหรับฉายภาพการทำงานภายในโดยละเอียด เช่น ขนาด รูปร่าง ลักษณะของหลอดเลือดที่เข้ามาหล่อเลี้ยง
  • การตัดชิ้นเนื้อตับ (Liver Biopsy) เป็นวิธีตรวจทางพยาธิวิทยาโดยละเอียด เพื่อหาเซลล์มะเร็งในก้อนเนื้อตัวอย่าง

 

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งตับ

  • ผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ
  • ผู้ที่มีไขมันเกาะตับ
  • ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ

 

          ล่วงรู้เรื่องการรักษาและป้องกันมะเร็งตับ จากแพทย์ชำนาญการเฉพาะด้านที่โรงพยาบาลรามคำแหง 2 ซึ่งสอบถามเพิ่มเติมที่รายละเอียดด้านล่าง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ ชั้น 1 โรงพยาบาลรามคำแหง 2
Email:
information@ram2-hosp.com
Line Official: @ram2
โทร: 02-032-3888, 095-771-9739

 


แนะนำแพทย์แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ

 

Dr.Rattaya Janyajirawong
พญ.รัฐฐยา จรรยาจิรวงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
โรงพยาบาลรามคำแหง 2

 

นัดพบแพทย์ นัดหมายแพทย์ Book Appiontment
 


แพ็กเกจที่แนะนำ