วัคซีนป้องกันงูสวัด ป้องกันอันตรายที่ซ่อนอยู่ในปมประสาท
September 16 / 2024

วัคซีนป้องกันงูสวัด

 


รู้จัก 'โรคงูสวัด'
 

     โรคงูสวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Varicella Zoster ชนิดเดียวกันกับที่ก่อโรคอีสุกอีใส โดยการติดเชื้อนี้ในครั้งแรกจะแสดงอาการของโรคอีสุกอีใส คือ เป็นตุ่มน้ำแตกเป็นแผลทั่วร่างกาย เมื่อโรคอีสุกอีใสหายแล้ว เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกาย โดยซ่อนอยู่ที่ปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด หรือมีภาวะภูมิถดถอยตามวัย เชื้อก็จะถูกกระตุ้น และก่อให้เกิดโรคงูสวัด

 

อาการของโรคงูสวัด
     

     ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง จากนั้น 2-3 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวดและกลายเป็นตุ่มน้ำใส โดยในบางรายอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาทข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายและจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาแผลจะตกสะเก็ดและหายได้เองใน 2 สัปดาห์และเมื่อแผลหายแล้วอาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้

 

อ่านเพิ่มเติม: 'งูสวัด' ...โรคอันตรายในผู้สูงอายุ
 

 

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด

 

  • โรคปวดเส้นประสาท (postherpetic neuralgia) มีอาการปวดเส้นประสาทตลอดเวลานานหลายเดือนหรือหลายปีหลังจากผื่นหายไป
  • ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังเกิดเป็นแผลเป็น
  • งูสวัดขึ้นตา 
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และหลอดเลือดหัวใจ (Myocardial infarction)
  • ใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก

 

กลุ่มเสี่ยงของโรคงูสวัด

 

  • ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากโรคหรือสภาวะต่างๆหรือได้รับยากดภูมิ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โรคทางเดินหายใจ โรคไต โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคตับ

 

การดูแลรักษา

 

  • ให้ยาต้านไวรัสโดยเร็วโดยเฉพาะในช่วง 72 ชั่วโมงแรกที่เกิดตุ่มน้ำ จะช่วยย่นระยะเวลาของโรค และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้
  • ดูแลผิวหนังในบริเวณรอยโรคให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการเกา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่แผล
  • การทำแผลโดยการใช้น้ำเกลือทางการแพทย์ประคบผ้าก๊อซทิ้งไว้ที่ตุ่มน้ำประมาณ 10 นาที ทำ 2 ครั้ง/วัน จะทำให้ตุ่มน้ำยุบลงเร็วขึ้น
  • เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในกรณีที่อาการรุนแรง


วัคซีนป้องกันงูสวัด

 

'วัคซีนป้องกันงูสวัด'  หนึ่งกุญแจป้องกันโรค

     

     วัคซีนป้องกันงูสวัด (Recombinant Zoster (Shingles) Vaccine) เป็นหนึ่งวิธีเสริมเกราะป้องกันโรคงูสวัด หากเป็นโรคแล้วก็ยังสามารถรับวัคซีนเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำได้โดยควรรับวัคซีน 6 เดือนขึ้นไปหลังหายจากโรค ซึ่งวัคซีนยังแบ่งได้อีก 2 ประเภท ได้แก่

 

ประเภทของวัคซีนป้องกันงูสวัด

 

  • Shingrix เป็นวัคซีนเชื้อตายซึ่งใช้ได้ทั้งในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและในเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคงูสวัดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยใน 1 เข็มสามารถลดการเกิดโรคงูสวัดได้ร้อยละ 50 พร้อมลดอาการปวดเส้นประสาทได้ร้อยละ 70
  • Zostavax วัคซีนอีกชนิดที่ใช้เชื้อ Varicella-zoster virus ชนิดอ่อนสำหรับฉีดเพื่อป้องกันโรคงูสวัดในคนอายุ 50 ปีขึ้นไปเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านโรค อย่างไรก็ตาม วัคซีนดังกล่าวไม่เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์และผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

วัคซีนป้องกันงูสวัด

 

วัคซีนป้องกันงูสวัดฉีดกี่เข็ม

 

     โดยทั่วไปฉีดจำนวน 2  เข็มซึ่งเว้นระยะหว่างฉีด 2 - 6 เดือน อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาตามสภาพอาการผู้ป่วยว่าควรได้รับกี่เข็ม โดยไม่ควรได้รับร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัสชนิดโพลิแซคคาไลด์

 

คำแนะนำหลังได้รับวัคซีน

 

  • ควรพักสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที
  • เมื่อกลับบ้านให้สังเกตอาการเป็นระยะ เนื่องจากอาจเกิดไข้ สั่น ปวดศีรษะเล็กน้อยหลังได้รับวัคซีนป้องกันงูสวัด ก่อนค่อย ๆ ทุเลาอาการลง อย่างไรก็ตาม หากอาการยังรุนแรงให้พบแพทย์
  • หากปวดบวมบริเวณที่ฉีดให้ประคบเย็น
  • ควรเข้าพบแพทย์ตามตารางนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการของโรคงูสวัด ในกรณีที่ท่านยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส อาจทำให้เป็นโรคอีสุกอีใสได้
  • จัดการความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขอนามัย

 

ป้องกันสุขภาพให้ห่างไกลโรคงูสวัด

     หลังได้รับวัคซีนป้องกันงูสวัด ผู้ป่วยควร

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการของโรคงูสวัด ในรายที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ก็อาจเป็นโรคได้
  • จัดการความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอพร้อมออกกำลังกายและรักษาสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 แผนกผิวหนัง ชั้น 1 โรงพยาบาลรามคำแหง 2
Email:
information@ram2-hosp.com
Line Official: @ram2
โทร: 02-032-3888

 


แนะนำแพทย์แผนกผิวหนัง

 

 


แพ็กเกจที่แนะนำ